ราคา “เนื้อไก่-หมู” ลดลง ต้อนรับเทศกาลกินเจ ประจำปี 2565

ราคา “เนื้อไก่-หมู” ลดลง ต้อนรับเทศกาลกินเจ ประจำปี 2565

ผู้บริโภคเตรียมเฮ! ไก่-หมู ลดราคา เทศกาลกินเจ ตลอดทั้งเดือนกันยายน 2565 มีแนวโน้มว่าราคาเนื้อไก่และหมูจะลดลงจนกระทั่งจบเทศกาลกินเจประจำปีนี้ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 เวลา 13.02 น. กรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เนื้อไก่และเนื้อหมูจะปรับราคาลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะชิ้นส่วนเนื้อไก่ที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มลดลงอีก หากผลผลิตจากไก่ยังคงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ส่วนเนื้อหมูจะราคาลดเฉพาะส่วนขายปลีก เพื่อฉลองต้อนรับเทศกาลกินเจที่จะจัดขึ้นในช่วงปลาเดือนกันยายน 2565 นี้

รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายอุดม ศรีสมทรง รายงานว่า 

สินค้าบริโภคในหมวดปศุสัตว์จะเริ่มทยอยปรับลดราคาลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะชิ้นส่วนจากเนื้อไก่ที่ลดราคาลง เนื่องจากได้บริเวณเนื้อไก่ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค (ประชาชน) ได้แก่ น่องไก่ และน่องติดสะโพก เป็นผลผลิตเนื้อจากไก่ที่มีการนำเข้าสู่กระบวนการตลาดมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดแนวโน้มราคาเนื้อไก่จะทยอยลดลงในช่วงระยะต่อไป เพื่อสอดคล้องกับปริมาณในการผลิตเนื้อไก่

ส่วนด้านราคาของเนื้อหมู (สุกร) ยังคงมีราคาหน้าฟาร์มที่เนื้อหมู กิโลกรัมละ 100 บาท เพื่อไม่ให้กระทบถึงผู้บริโภคที่เป็นประชาชนมากนัก ตามที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้คาดการณ์ไว้

สำหรับราคาขายปลีกของหมูเนื้อแดงจะมีแนวโน้มปรับราคาลดลง เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกในหลายพื้นที่ของฟาร์มปศุสัตว์ ทำให้ตลาดเกิดวิกฤติชะลอตัว ราคาเนื้อหมูจึงลดลงต่อไป เพื่อเตรียมรับมือกับเทศกาลกินเจในช่วงปลายเดือนกันยายน 2565 ที่จะถึงนี้

ทั้งนี้ กรมการค้าภายใน ยังคงกำชับว่า หากพบเห็นการกักตุน หรือฉวยโอกาสในการจำหน่ายสินค้าด้วยราคาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือปิดป้ายแสดงราคาเนื้อไก่-เนื้อหมูไม่ชัดเจน ให้ผู้บริโภคแจ้งไปยังสายด่วนกรมการค้าภายใน เบอร์โทร. 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดได้ทั่วไปประเทศ และหากตรวจสอบพบว่ามีความผิดจะได้รับการลงโทษตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ซึ่งต้องดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป.

‘ศูนย์จีโนม’ เผยพบ BA.2.75.2 รายที่ 2 ในไทย ผวาดื้อยาทุกชนิด

ศูนย์จีโนม เผยพบผู้ป่วยโควิดโอมิครอน BA.2.75.2 รายที่ 2 ในไทย ผวากว่าดื้อยาทุกชนิด ย้ำมูฟออนได้ แต่การ์ดยังไม่ตก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กเผยความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยระบุว่าพบโควิดโอมิครอน BA.2.75.2 เป็นรายที่ 2 แล้ว และพบว่าดื้อยาทุกชนิดด้วย

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ระบุว่า “โอไมครอน BA.2.75.2 :- ข้อมูลจากทีมวิจัยสหราชอาณาจักร พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และ ดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า ดื้อต่อแอนติบอดีที่ใช้รักษาโรคโควิด-19 แทบทุกชนิด รวมทั้ง “เอวูเชลด์/Evusheld”

ไม่จำเป็นต้อง “ตระหนก” พบ BA.2.75.2 เพียง “464 ราย” ในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” (ในไทยพบสองราย) มูฟออนจากโควิด-19 ได้ แต่ต้องตระหนักการ์ดไม่ตก เพื่อมิให้ ฺBA.2.75.2 มีโอกาสระบาดมาแทนที่ BA.4.6 และ BA.5

ข้อมูลล่าสุดจากทีมวิจัยในสหภาพยุโรป (European Union: EU) เมื่อ 16/กย/2565 ได้รายงานในวารสารวิชาการแสดงข้อมูลทางห้องปฎิบัติการให้เห็นว่าโอไมครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 (ภาพ 1) สามารถหลบเลี่ยง “ยาแอนติบอดีที่ใช้เดี่ยว” และ “ยาแอนติบอดีแบบผสม” รวมทั้ง “เอวูเชลด์/Evusheld” ซึ่งมีส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีซิกเกวิแมบ/cilgavimab และ ทิกเกจวิมาบ/tixagevimab” ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อโอไมครอน 2 สายพันธุ์ดังกล่าวจะรักษายากขึ้นเนื่องจากดื้อต่อ “ยาแอนติบอดี” เป็นส่วนใหญ่ เหลือแอนติบอดีสังเคราะห์เพียงไม่กี่ประเภท เช่น “เบบเทโลวิแมบ/bebtelovimab” ที่ยังสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของโอไมครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 ได้ (ภาพ 2)

ข้อมูลจากทีมวิจัยสหราชอาณาจักร พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน ของโอไมครอน BA.2.75.2 ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และ ดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า (ภาพ 2.1)

ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวลว่าโอไมครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 อาจหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันทางร่างกายเกิดการระบาดในกลุ่มประชากรขึ้นได้ โดยเฉพาะประเทศในซีกโลกเหนือที่กำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาวซึ่งประชาชนจะรวมตัวกันอยู่ในที่พักเพื่อเลี่ยงอากาศหนาว ทำให้โรคติดต่อทางอากาศและการสัมผ้สใกล้ชิด ติดต่อกันได้มากขึ้น

ยาแอนติบอดีแบบผสม“เอวูเชลด์” ทาง EU เพิ่งอนุมัติให้ใช้รักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ BA.1, BA.2, BA.4/BA.5, และ BA.2.75 ในร่างกายผู้ป่วยได้ดีในระดับหนึ่ง โดยขณะที่อนุมัตินั้นยังไม่มีข้อมูลการ “กลายพันธุ์ของโอไมครอน BA.4 มาเป็น BA.4.6” และ “การกลายพันธุ์ของโอไมครอน BA.2.75 มาเป็น BA.2.75.2” ซึ่งดื้อต่อยาเอวูเชลด์ (ภาพ 3)

การใช้ “ยาแอนติบอดีแบบผสม” ในประเทศไทยมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรค COVID-19 ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยมี “อาการน้อยถึงปานกลาง” ไม่ต้องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินไปสู่อาการรุนแรง จากการวิจัยทางคลินิกพบว่า การรักษาด้วยยาแอนติบอดีแบบผสมสามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดและยับยั้งการติดเชื้อของร่างกาย รวมทั้งลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป